วัดชุมพลนิกายารามราชวรวิหาร อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา

Wat Chumphon, Bangpa-in, Ayudthaya


วัดชุมพลนิกายารามราชวรวิหาร อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นวัดโบราณในประเทศไทยที่สำคัญต่อประวัติศาสตร์ชาติไทย ภายในบริเวณวัดจะมีต้นยางใหญ่เป็นสัญญลักษณ์อยู่ 2-3 ต้น ตรงหัวโค้งข้างหน้ามีร้านอาหารชื่อ ยางเดี่ยว และบริเวณนี้เองสมเด็จพระเอกาทศรถ (อนุชาพระนเรศวร)ทรงว่ายน้ำขึ้นฝั่งเนื่องจากเรือล่มขณะเกิดพายุ กระทั่งพบกับ "นางอิน" อันเป็นที่มาของชื่อพระราชวังบางปะอิน และอำเภอบางปะอิน


ฝั่งตรงข้ามวัดชุมพล
ชุมชนที่อยู่ใกล้วัดชุมพล



สะพานที่อยู่เยื้องวัดชุมพล สร้างเมื่อ จ.ศ 129 สมัยที่มีการบูรณะวัดชุมพลสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2453) หรือปีสุดท้ายแห่งการครองราชย์ (พ.ศ. 2144 -2453 )  (เทียบ จ.ศ. มาเป็น พ.ศ ให้บวกด้วย 2,324 )


เจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ลักษณะเดียวกับวัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


พระอุโบสถที่พระเจ้าปราสาททองทรงสร้างเพื่อทดแทนบุญคุณให้กับมารดา (นางอิน) 
ชาวบ้านที่นี่บอกว่าสร้างทับที่เผาศพ นางอิน (มารดาพระเจ้าปราสาททอง) ซึ่งบริเวณวัดนี้เป็นบ้านของพระเจ้าปราสาทองมาก่อน

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

วัดชุมพลนิกายาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่หัวเกาะบางปะอิน ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ติดต่อกับเขตอุปจาระพระราชวังบางปะอิน มีอาณาเขตโดยยาวประมาณ ๔ เส้นเศษ ด้านเหนือกว้าง ๑ เส้นเศษ ด้านในยาวประมาณ ๔ เส้นเศษติดกับพระราชวังบางปะอิน ด้านตะวันออกติดคลอง ด้านตะวันตกจรดลำน้ำเจ้าพระยา 

พระศรีอริยะเมตตรัยหน้าพระอุโบสถ

บานประตูพระอุโบสถ (ด้านหน้า)


บานประตูพระอุโบสถ (ด้านหลัง) เป็นฝีมือช่างชาวจีน (อาจเป็นชาวจีนชุดเดียวกับที่สร้างเก๋งจีนในพระราชวังบางปะอินเมื่อ พ.ศ. 2432 )

พระประธานทั้ง 7 องค์ องค์ใหญ่มีชื่อว่า วิปีสสี ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 119 นิ้ว

วัดชุมพลนิกายาราม สร้างโดยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๕ หรือพระเจ้าปราสาททอง ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อปีวอก พ.ศ. ๒๑๗๕ ตรงบริเวณที่เป็นเคหสถานเดิมของพระราชชนนีของพระองค์ ตามหลักฐานจากพระราชกระแสรับสั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๓ ลงวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๑๙ และในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๒๕ พิมพ์ครั้งที่ ๒ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นพงษาดิศรมหิตป โปรดให้พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ ความว่า “…ที่ทรงสร้างวัดชุมพลนิกายารามนี้เป็นมูลนิเวศสถานของพระราชชนนีแห่งองค์พระเจ้าปราสาททอง หากจะสันนิษฐานตามหลักฐานที่อ้างอิงทุกกรณีแล้วเห็นว่าเป็นความจริงโดยแน่แท้ เพราะว่าวัดชุมพลนิกายารามนี้ต่อมาปรากฏว่าเจ้าฟ้ากรมขุนสุเรนทร์พิทักษ์ ซึ่งมีพระนามเดิมว่าเจ้าฟ้านเรนทร์ ที่เป็นพระราชโอรสของพระสรรเพชญ์ที่ ๙ หรืออีกพระนามหนึ่งว่า ขุนหลวงท้ายสระ ซึ่งทรงผนวชอยู่ที่วัดโคกแสง ได้เสด็จมาปฏิสังขรณ์ในครั้งกระนั้น นอกจากนี้แล้ว ไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดมาปฏิสังขรณ์หรือบูรณะแต่อย่างใด…”    ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์

     ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพลเทพ(หลวง) เป็นแม่กองมาปฏิสังขรณ์อีกครั้งหนึ่งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๖ สิ้นพระราชทรัพย์ไปประมาณ ๕๐๐ ชั่งเศษ แล้วทรงอุทิศพระราชกุศลแด่พระเจ้าปราสาททองผู้เป็นเจ้าของวัดและทรงอุทิศพระราชกุศลแด่เจ้าฟ้ากรมขุนสุเรนทร์พิทักษ์ผู้ปฏิสังขรณ์ ดังมีพระราชปรารภอยู่ในศิลาจารึกซึ่งติดอยู่ที่พระเจดีย์ทั้งสององค์ด้านหลังพระอุโบสถ

     ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ปฏิสังขรณ์อีกครั้งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๑ โดยทรงบูรณะพระอุโบสถและพระวิหาร สิ้นพระราชทรัพย์อีกเป็นจำนวนมาก

เสาพระอุโบสถเขียนโดยช่างจากเมืองจีน

ภาพจิตกรรมผุก่อนไปมาก ทุกวันนี้ก็ยังเห็นร่วงหล่นจนน่าเป็นห่วง

ผ้าสไบห่มพระประธานองค์ใหญ่ผืนนี้ เป็นผ้าเก่าแก่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ครั้งที่มีการบูณะปฏิสังขรณ์วัดชุมพล ปัจจุบันจะนำออกมาใช้เพียงปีละครั้ง เฉพาะวันที่มีการถวายกฐินพระราชทานเท่านั้น หลังเสร็จพิธีแล้วก็จะเก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัยทันที

ภาพจิตกรรมผุก่อนไปมาก ทุกวันนี้ก็ยังเห็นร่วงหล่นจนน่าเป็นห่วง

เสาพระอุโบสถ เขียนโดยช่างเขียนชาวจีน

ผนังพระอุโบสถด้านหน้า

ปูชนียวัตถุสำคัญในวัดชุมพลนิกายาราม คือ พระประธานพระอุโบสถทั้ง ๗ องค์ ได้แก่ พระวิปัสสีสิขี เวสสภู กกุสันธะ โกนาคมนะ กัสสปะ และโคตมะ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นหินทรายทั้งหมด และมีพระสาวกอีก ๔ องค์เป็นพระยืน นอกจากนี้มีพระศรีอาริยะเมตไตรโพธิสัตว์อีก ๑ องค์ประดิษฐานอยู่ที่หน้าพระอุโบสถ

     ภายในพระอุโบสถมีภาพเขียนพระพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์ โดยเขียนไว้ที่ฝาผนังทุกด้านอย่างงดงามยากจะหาที่ใดเสมอเหมือนภาพเขียนดังกล่าวได้รับการซ่อมแซมเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๕ แต่เป็นที่น่าเสียดายด้วยในเวลานี้ภาพเขียนส่วนหนึ่งได้หลุดลอกและลบเลือนไปบ้างแล้ว

     ปัจจุบันวัดชุมพลนิกายาราม มีพระครูชุมพลวุฒิกร เป็นเจ้าอาวาส มีพระภิกษุจำนวนทั้งสิ้น ๒๔ รูป และสามเณรจำนวน ๔ รูป


ขอบขอบคุณรูปภาพสวยๆ จาก http://www.photoontour9.com
http://www.ayutthaya.org/












Share this

Related Posts

Latest
Previous
Next Post »